วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556


1. สภาพแวดล้อมทางกายภาพของทวีปอเมริกาเหนือ
    ทวีปอเมริกาเหนือเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาวพื้นเมืองอินเดียน 2  เผ่าใหญ่ คือ เผ่าอัซเต็ก(Aztec) ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ทางแถบเม็กซิโก และเผ่ามายา (Maya) ที่อยู่ทางแถบลาตินอเมริกา เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) เดินเรือมาพบทวีปแห่งนี้เมื่อ ค..1492 นับจากนั้นดินแดนโลกใหม่จึงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง และมีประชากรชาวยุโรปอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในทวีปอเมริกาเหนือตั้งแต่ต้นคริสตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา โดยได้ครอบครองพื้นที่แทนชาวอินเดียนดั้งเดิม ก่อตั้งเป็นชุมชนและเมืองต่างๆขึ้นมา                                                                                                                   
    ทวีปอเมริกาเหนือมีเนื้อที่ 24,247,039 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณร้อยละ 16.5 ของพื้นแผ่นดินโลก มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา มีรูปร่างลักษณะกว้างทางตอนบนแล้วเรียวแคบทางตอนใต้
1.1ลักษณะทั่วไปของทวีปอเมริกาเหนือ
     ทวีปอเมริกาเหนือตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ ระหว่างละติจูด 7 องศา 14 ลิปดาเหนือ ถึง 38 องศา 38 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 55 องศา 42 ลิปดาตะวันตกถึง 30 ลิปดาตะวันออก ทิศเหนือจดมหาสมุทรอาร์กติก ทิศตะวันออกจดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศตะวันตกจดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้ อาณาเขตติดต่อของทวีปอเมริกาเหนือมีดังนี้

แผนที่อาณาเขตของทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ที่ตั้งและอาณาเขตของประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ
    
       ทวีปอเมริกาเหนือมีจำนวนประชากรประมาณ 539,60 ล้านคน (ค.. 2010) มีประเทศที่นานาชาติให้การรับรองแล้ว 22  ประเทศ  และดินแดนที่เป็นเขตปกครองตนเอง 22 แห่ง แบ่งย่อยออกเป็น 3 ภูมิภาค ได้แก่ อเมริกาเหนือ แคริบเบียและอเมริกากลาง

       ภูมิภาค
           ประเทศ
ประชากร  (ล้านคน)
       เนื้อที่
       (ตร.กม.)
    เมืองหลวง
อเมริกาเหนือ

346.20
19,613,761


แคนาดา
34.50
9,984,670
ออตตาวา

สหรัฐอเมริกา
311.70
9,629,091
วอชิงตัน ดี.ซี
แคริบเบียน

35.40
214,397


แอนติกาและบาร์บูดา
0.10
442
เซนต์จอนส์

บาฮามาส
0.40
13,943
นัสซอ

บาร์เบโดส
0.30
430
บริดทาวน์

คิวบา
11.20
109,886
ฮาวานา

โดมินิกา
0.10
781
โรโซ

สาธารณรัฐโดมินิกัน
10.00
48,671
ซานโตโตมิงโก

เกรเนดา
0.10
344
เซนต์เจอร์เจส

เฮติ
10.10
27,750
ปอร์โตแปรงซ์

จาเมกา
2.70
10,991
คิงส์ตัน

เซนต์คิตส์และเนวิส
0.10
261
บาสแตร์

เซนต์ลูเซีย
0.20
539
แคสตรีส์

เซนต์วินแซนต์และเกรนาดีนส์
0.10
389
คิงส์ทาวน์
อเมริกากลาง

158.00
2,486,653


เบลีซ
0.30
22,966
เบลโมแพน

คอสตาริกา
4.70
51,100
ซานโฮเซ

เอลซัลวาดอร์
6.20
21,041
ซานซัลวาดอร์

กัวเตมาลา
14.70
108,889
กัวเตมาลาซิตี

ฮอนดูรัส
7.80
112,492
เตกูซิกัลปา

เม็กซิโก
114.80
1,964,375
เม็กซิโกซิตี

นิการากัว
5.90
130,373
มานากัว

ปานามา
3.60
75,417
ปานามาซิตี
หมายเหตุ:ไม่นับรวม 22 ดินแดนในปกครองของประเทศต่างๆ ซึ่งมีเนื้อที่รวมกัน 2,186,184 ตารางกิโลเมตร และประชากรอีกประมาณ 4.21 ล้านคน


 แผนที่ภูมิลักษณ์ของทวีปอเมริกาเหนือ


แผนที่เขตภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ
             


1.2 ภูมิลักษณ์ของทวีปอเมริกาเหนือ
ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ สามารถแบ่งได้เป็น 4 เขต คือ
1. เขตเทือกเขาสูงทางตะวันตก เกิดจากการโก่งตัวของหินเปลือกโลกที่มีอายุน้อย เป็นแนวเทือกเขาสลับซับซ้อนจากเหนือสุดบริเวณช่องแคบเบริ่งต่อเนื่องถึงแนวเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ ประกอบด้วยแนวเทือกเขาชายฝั่ง ได้แก่ เทือกเขาอลาสกา ซึ่งมียอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อ แมกคินเล่ย์ มีความสูงถึง 6,190 เมตร เทือกเขาโคสท์เรนจ์ เทือกเขาแคสเคต เทือกเขาเซียร์ราเนวาดา เทือกเขาเซียร์รามาเดรตะวันตก และแนวเทือกเขาตอนใน ได้แก่ เทือกเขายูคอน เทือกเขารอกกี และเทือกเขาเซียร์รามาเดรตะวันออกในเม็กซิโก ระหว่างแนวเทือกเขาชายฝั่งและเทือกเขารอกกี ซึ่งเป็นแนวเทือกเขาภายใน มีที่ราบสูงคั่นอยู่หลายแห่ง เริ่มจากเหนือลงมาใต้ ได้แก่ ที่ราบสูงยูคอน ที่ราบสูงบริติชโคลัมเบีย ที่ราบสูงโคลัมเบียสเนค ที่ราบสูงโคโลราโดและที่ราบสูงเม็กซิโก บริเวณที่ราบสูงโคโลราโด มีลักษณะภูมิประเทศเป็นโกรกธารหุบเหวลึกและมีหน้าผาสูงชันมาก ซึ่งเกิดจากการไหลกัดเซาะของ แม่น้ำโคโลราโด ทำให้เกิดเป็นภูมิประเทศที่สวยงาม บริเวณที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ “แกรนแคนยอน” ในรัฐอริโซนาบริเวณเทือกเขาและที่ราบสูงนี้ ส่วนใหญ่รัฐบาลสงวนไว้ให้เป็นวนอุทยานเพื่อการพักผ่อนและยังเป็นการรักษาต้นน้ำลำธารเอาไว้อีกด้วย วนอุทยานที่มีชื่อเสียงมากมากคือ เยลโลสโตน มีพื้นที่กว้างถึง 5.5 ล้านไร่ มีน้ำพุร้อนที่พุ่งสูงมากที่เรียกว่า กีเซอร์มีจำนวนมากถึง 120 แห่ง


        










              ยอดเขาร็อกกี้ถูกปกคลิมด้วยหิมะ  



                                                                  ยอดเขาแมกคินลีย์    



                                                                                      แกรนแคนยอน

2. เขตที่ราบภาคกลาง  เป็นที่ราบกว้างใหญ่ มีอาณาเขตตั้งแต่มหาสมุทรอาร์กติก ทางตอนเหนือลงมาจนถึงอ่าวเม็กซิโกทางตอนใต้และอยู่ระหว่างเทือกเขารอกกี กับ เทือกเขาอัปปาเลเชียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 เขตดังนี้

     2.1 ที่ราบลุ่มแม่น้ำแมกเคนซี อยู่ทางตอนเหนือสุด ระหว่างเขตหินเก่าแคนาดา กับเทือกเขารอกกี เป็นที่ราบแคบ ๆ ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น จึงเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อย แม่น้ำแมกเคนซีไหลลงสู่มหาสมุทรอาร์กติกบริเวณทะเลโบฟอร์ต

     2.2 เขตที่ราบทุ่งหญ้าแพรรีแคนาดา เป็นที่ราบใหญ่อยู่ทางตอนกลางติดพรมแดนสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้แก่มณฑล ซาสแกตเชวัน อัลเบอร์ตา และมานิโทบาเป็นแหล่งปลูกข้าวสาลีที่สำคัญของแคนาดา

     2.3 เขตที่ราบรอบทะเลสาบเกรตเพลนส์และลุ่มแม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ ประกอบด้วยทะสาบน้ำจืด 5 แห่งได้แก่ สุพีเรียมิชิแกน ฮูรอน อีรี และออนแตริโอโดยทะเลสาบทั้ง 5 นี้มีคลองเชื่อมติดต่อกันหมดน้ำในทะเลสาบนี้ไหลลงสู่แม่น้ำเซนต์ลอเรนซ์ออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกเนื่องจากระดับน้ำในทะเลสาบทั้ง 5 มีความต่างระดับกันจึงทำให้เกิดน้ำตก เช่น  น้ำตกในแอการา ซึ่งอยู่ระหว่างทะเลสาบอีรีและออนแตริโอเป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งของโลก

     2.4 ที่ราบลุ่มแม่น้ำมิสซิสซิปปี อยู่ทางตอนใต้ของทะเลสาบเกรตเลกส์จนถึงอ่าวเม็กซิโก แม่น้ำมิสซิสซิปปีมีสาขามากมาย เช่น แม่น้ำมิสซูรี โอไฮโอ เทนเนสซี อาร์คันซอและแม่น้ำแดง แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไหลลงสู่อ่าวเม็กซิโก
     2.5 ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นที่ราบที่อยู่ระหว่างเทือกเขาอัปปาเลเชียนและมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นเขตปลูกยาสูบที่สำคัญ โดยปลูกมากในรัฐแคโรไลนาเหนือ เคนตักกีและเวอร์จีเนีย
     2.6 เขตที่ราบเกรตเพลน เป็นเขตที่มีพื้นที่กว้างขวาง ค่อนข้างแห้งแล้ง เนื่องจากเป็นเขตเงาฝน อยู่ทางตะวันออกของเทือกเขาร็อกกี เป็นเขตที่มีการเลี้ยงวัวเนื้อ โดยปล่อยให้หากินเอง

3. เขตหินเก่าแคนาดา หรือแคนาเดียนชิลด์ Canadian Shield หรือ Laurentian Shieldได้แก่ บริเวณ        รอบ ๆ อ่าวฮัดสันจนถึงเกรตเลกส์ เป็นเขตหินเก่าเช่นเดียวกับบอลติกชิลด์ในทวีปยุโรปประกอบด้วยหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่และผ่านการสึกกร่อนมาเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี อากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะทางตอนเหนือของเขตนี้ มีธารน้ำแข็งปกคลุม บางแห่งเป็นทะเลสาบที่ตื้นเขิน มีป่าสนขึ้นแทน ทำให้มีประชากรอาศัยอยู่น้อย เป็นส่วนใหญ่เป็นพวกเอสกิโม ซึ่งสร้างที่อยู่อาศัยด้วยน้ำแข็ง เรียกว่า อิกลู” Igloo และเป็นเขตที่มีน้ำตำไนแอการา ซึ่งเป็นพรมแดนธรรมชาติกั้นระหว่างประเทศแคนาดากับสหรัฐอเมริกา

                                                                      

                                                                   
                                                     น้ำตกไนแอการา

4. เขตเทือกเขาหินเก่าทางตะวันออก หรือ เทือกเขาอัปปาเลเชียน   ประกอบด้วยเทือกเขาเตี้ย ๆ ขนานไปกับชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในเขตนี้พื้นที่มีความต่างระดับกัน ทำให้เกิดแนวน้ำตกมากมาย
       ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทวีปที่ล้อมรอบด้วยมหาสมุทร จึงมีลักษณะภูมิประเทศเป็นชายฝั่งทะเล โดยชายฝั่งทางตอนเหนือบริเวณอ่าวอะแลสก้าจะเป็นชายฝั่งที่มีลักษณะเว้า แหว่งมาก เรียกว่า ฟยอร์ด (Fjord) ซึ่งเกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็ง เช่น เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนนาดา ส่วนชายฝั่งทางตอนใต้บริเวณอ่าวเม็กซิโก จะเป็นที่ราบชายฝั่งที่เกิดจากการกระทำของแม่น้ำ ซึ่งได้พัดพาตะกอนมาสะสม จึงเป็นที่ตั้งของเมืองท่าและเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น เมือง ฮิวสตัน เมืองนิวออร์ลีนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา


                                                     เมืองนิวออร์ลีนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

แผนที่เขตภูมิอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ


1.3    ภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือ มีลักษณะอากาศที่แตกต่างกัน เนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยด้านที่ตั้ง อยู่ในเขตอากาศร้อนใกล้ศูนย์สูตร จนถึงบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ ทำให้มีลักษณะอากาศแทบทุกประเภท                                                                                                                                                
2. ปัจจัยด้านลักษณะภูมิประเทศ มีแนวเทือกเขาสูงทางด้านตะวันตก ทอดตัวแนวเหนือใต้ เป็นกำแพงกั้นทางลมและความชื้นจากมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ดินแดนด้านหลังของเทือกเขารอกกี (ด้านตะวันออกของเทือกเขา) มีอากาศค่อนข้างแห้งแล้ง เป็นทะเลทรายและทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย                                                 
3. ปัจจัยด้านลมประจำ ลมประจำที่พัดผ่านทวีปอเมริกาเหนือแตกต่างกันตามช่วงละติจูดคือ ตั้งแต่ละติจูดที่ 40 องศาเหนือขึ้นไปทางทิศเหนือ จะได้รับลมประจำตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดมาจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้ฝนตกชุกบริเวณ ชายฝั่งตะวันตกของประเทศแคนาดา รัฐอะแลสกา ของสหรัฐอเมริกา สำหรับบริเวณ ใต้เส้นละติจูดที่ 40 องศาเหนือ จะได้รับลมตะวันออกเฉียงเหนือจากมหาสมุทรแอตแลนติก         
4. ปัจจัยด้านกระแสน้ำ มีอิทธิพลต่อทวีปอเมริกาเหนือ ได้แก่ 
4.1 กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม ไหลเลียบชายฝั่งตะวันออกของสหรัฐอเมริกา จากทิศใต้ไปยังทิศตะวันออกเฉียงเหนือ                                                                                                                                     4.2 กระแสน้ำเย็นแลบราดอร์ ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของเกาะกรีนแลนด์ มาพบกับกระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม บริเวณนอกฝั่งตะวันออกของเกาะนิวฟันด์แลนด์                                                                                     
4.3 กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาลงมาจนถึงชายฝั่งมหาสมุทรแคลิฟอร์เนีย                                                                                                                                       4.4 กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา ไหลเลียบชายฝั่งตะวันตกของรัฐอะแลสกา ขึ้นไปทางเหนือ จนถึงช่องแคบแบริง                                                                                                                                                                                                                                 
5. ระยะห่างจากทะเล ตอนเหนือของทวีปมีพื้นที่กว้างขวางมาก ตอนในของทวีปได้รับอิทธิพลจากทะเลเพียงเล็กน้อย ทำให้ตอนกลางของสหรัฐอเมริกาและแคนาดามีอากาศแห้งแล้ง พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้า และทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย
6. พายุเฮอริเคน เป็นพายุเมืองร้อน เกิดในทะเลแคริบเบียน เคลื่อนที่เข้าสู่เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา พายุทอร์นาโด เกิดในบริเวณที่ราบภาคกลางของสหรัฐอเมริกา มีกำลังแรงมาก มีลักษณะเป็นกรวยเมฆสีดำคล้ายงวง สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน



ทอนาโด      
                                                                           
                                                                          
 เฮอริเคน



  ทอนาโด          
        ลักษณะอากาศของทวีปอเมริกาเหนือ
ทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตอากาศที่แตกต่างกันดังนี้
1. เขตอากาศแบบป่าดิบชื้น (Tropical Rainforest Climate) ปรากฏบริเวณชายฝั่งตะวันออกของดินแดนทางตอนใต้ของอเมริกาเหนือ เม็กซิโก ปานามา มีฝนตกชุก อุณหภูมิสูง พืชพรรณธรรมชาติเป็นแบบป่าเมืองร้อน
2. ทุ่งหญ้าเขตร้อน (Tropical Grassland Climate) ได้แก่พื้นที่ส่วนใหญ่ของเม็กซิโก หมู่เกาะอินดิสตะวันตก อุณหภูมิในฤดูร้อนกับฤดูหนาวแตกต่างกันมาก มีฝนตกปานกลาง พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าโปร่งสลับกับทุ่งหญ้า เรียกว่าสะวันน่า (Savanna)
3. เขตอากาศแบบทะเลทราย (Desert Climate) บริเวณภาคตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และภาคเหนือของเม็กซิโก มีอุณหภูมิสูงมากในฤดูร้อน มีปริมาณฝนน้อย พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่พืชจำพวกตะบองเพชร และประเภทไม้มีหนาม
4. เขตทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย (Steppe Climate) ปรากฏทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา บางส่วนของแคนาดา เม็กซิโก ซึ่งอยู่บริเวณชายขอบทะเลทราย มีลักษณะอากาศกึ่งแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าสั้น เรียกว่า สเต็ปป์ (Steppe)
5.เขตอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean Climate) ปรากฏบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ตอนกลางรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ ในฤดูร้อน อากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง ฤดูหนาวอากาศอบอุ่นและมีฝนตก พืชพรรณธรรมชาติ เป็นทุ่งหญ้าสลับกับป่าไม้พุ่มเตี้ย เรียกว่า
ป่าแคระ (Chaparral)
6.เขตอากาศแบบชื้น กึ่งร้อน (Humid Subtropical Climate) ปรากฏบริเวณภาคกลาง ที่ราบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก มีลักษณะอากาศอบอุ่น ฝนตกตลอดปี ไม่มีฤดูแล้ง พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าสน
7.เขตอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine Westcoast Climate) ได้แก่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งหันหน้าเข้ารับลมประจำตะวันตก ที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้ช่วงฤดูร้อน มีอากาศอบอุ่น ฤดูหนาวมีอากาศไม่หนาวจัด มีฝนตกสม่ำเสมอตลอดปี ไม่มีฤดูแล้ง ที่เด่นชัด พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่น
8. เขตอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (Humid Continental Climate) ปรากฏบริเวณทะเลสาบทั้ง 5 ตอนใต้ของแคนาดา ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำในฤดูหนาว ส่วนฤดูร้อนอุณหภูมิปานกลางถึงสูงมากเป็นช่วงที่ มีฝนตกชุก พืชพรรณธรรมชาติมีทั้งป่าไม้ผลัดใบชนิดใบกว้าง และป่าไม้ไม่ผลัดใบ ชนิดมีใบแหลม
9.เขตอากาศแบบไทกา (Taiga Climate) ได้แก่บริเวณรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกา ภาคเหนือของประเทศแคนาดา มีลักษณะอากาศที่หนาวจัดเป็นระยะเวลายาวนาน มีหิมะตก ส่วนฤดูร้อนมีระยะสั้นอากาศค่อนข้างเย็น พืชพรรณธรรมชาติ เป็นป่าสน และป่าไม้เนื้ออ่อน
10. เขตอากาศแบบทุนดรา (Tundra Climate) ปรากฏบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติกของรัฐอะแลสกาและแคนาดา รวมทั้งชายฝั่งของเกาะนิวฟันด์แลนด์ ฤดูหนาวมีอากาศเย็นจัด พืชพรรณธรรมชาติเป็นตะไคร่น้ำและมอส
11. ลักษณะอากาศแบบทุ่งน้ำแข็ง (Ice-Cap Climate) คือดินแดนของเกาะ กรีนแลนด์ตอนกลาง มีอากาศหนาวจัด และมีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี พืชพรรณธรรมชาติไม่สามารถเจริญเติบโตได้เลย
12. ลักษณะอากาศแบบที่สูง (Highland Climate) อยู่ทางภาคตะวันตกของทวีป ในเขตภูเขาสูงนี้ อุณหภูมิ ความชื้น พืชพรรณธรรมชาติ เปลี่ยนไปตามความสูงของพื้นที่ ยิ่งสูงมากอากาศจะยิ่งเย็นจัด จนกระทั่งถึงมีน้ำแข็งปกคลุมอยู่ตลอดเวลา

1.4 ลักษณะทรัพยากรธรรมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ
ทรัพยากรธรรมชาติของทวีปอเมริกาเหนือ
          ป่าไม้  ทุ่งหญ้า และสัตว์ป่า  ปัจจุบันป่าไม้ ทุ่งหญ้าธรรมชาติและสัตว์ป่ายังคงมีมากโดยเฉพาะในอเมริกาเหนือ ซึ่งมีกฎหมาย มาตรการ และการจัดการการที่เข็มงวดและรัดกุม ป่าไม้สนมีมากในเขตภูมิอากาศหิมะ  เป็นป่าธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่มากโดย ป่าไม้ผลัดใบ ทางตะวันออกของอเมริกาไปจนถึงป่าไม้เตี้ยและป่าสนเป็นป่าไม้มีลำต้นสูง เช่น เรดวูด เฟอร์ เมเปิล แอช โอ๊ก ป่าไม้นี้เป็นทั้งอยู่อาศัยและอพยพของสัตว์หลายชนิด เช่น หมี กวาง กวางมูส  วัวคาริบู เป็นต้น   ในอเมริกากลาง เป็นเขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้นและมรสุมเขตร้อนในอดีตพื้นที่ในอเมริกากลางมีป่าไม้แน่นทึบแต่ในปัจจุบันมีการตัดไม้เพื่อส่งออกจำนวนมาก ในบางประเทศในทะเลแคริบเบียนยังคงมีการใช้ไม้ฟืนและเผาถ่าน นอกจากนี้การขยายพื้นที่ทำกิน ทำให้ป่าไม้ลดลงและมีผลกระทบต่อสัตว์จำนวนมาก ตอนกลางของอเมริกาเหนือมีพื้นที่ทุ่งหญ้าแพร์รีขนาดใหญ่และมีทุ่งสเตปป์ ซึ่งเป็นเขตทุ่งที่มีดินดีและอุดมสมบูรณ์เป็นที่อาศัยของควาย ไบซัน ซึ่งเคยถูกล่าอย่างหนักในอดีต ปัจจุบันเป็นสัตว์อนุรักษ์


                                                  ทะเลสาบสุพีเรีย     <Lake Superior>
                                                     
                                                     
                                                       ทุ่งหญ้าแพรี่ประเทศแคนาดา

  2. ทรัพยากรหิน  แร่  และเชื้อเพลิง 
เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ในทวีปออเมริกาเหนือประกอบด้วยหินหลายชนิดที่นำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เช่น หินปูน ใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เพื่อการก่อสร้างและหินประดับจะมีอยู่ทั่วไปหินกรวดที่การทับถมจากตระกอนธารน้ำแข็งใช้เป็นวัสดุก่อสร้างได้ดี


  2.1 ทรัพยากรแร่ ในอเมริกาเหนือมีทรัพยากรแร่ที่อุดมบูรณ์ แร่ที่มีมาก เช่น เหล็ก ตะกั่ว สังกะสี อะลูมิเนียม ทองแดง แร่ใยหิน กำมะถัน โปแตสและยูเรเนียม เป็นต้น ส่วนในอเมริกากลางประเทศคอสตาริกา มีแร่บ็อกไซต์ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับถลุงเอาแร่อะลูมิเลียมนอกจากนี้ยังมีแร่ทอง 
เงิน แมงกานีส และปรอท ประเทศคิวบามีแร่นิกเกิลมากเป็น 1 ใน 4 ของโลก